เขียนโดย Phot Dhammapeera
เคยสงสัยกันบ้างไหมว่าพฤติกรรมที่เรามีอยู่นั้นเกิดขึ้นมาจากอะไร? อะไรที่ทำให้เราคิด หรือ ทำในสิ่งที่เราอยู่ จริงๆแล้วสิ่งที่เราทำมันมีที่มานะ ไม่ว่าจะเป็น การที่เราสามารถจำหรือลืมสิ่งต่างๆได้ แก้ปัญหาโดยใช้วิธีต่างๆ หรือแม้กระทั่งการให้ความสนใจกับบทความนี้ที่คุณกำลังอ่านอยู่ งานวิจัยด้านจิตวิทยาปัญญา สามารถตอบคำถามพวกนี้ได้ค่ะ จิตวิทยาปัญญา หรือ จิตวิทยาการรู้คิด (Cognitive Psychology) คืออะไรกันนะ? จิตวิทยาปัญญา เป็นสาขาหนึ่งของจิตวิทยาที่ศึกษาเกี่ยวกับ กระบวนการทางจิต, การรับรู้ การเก็บ และใช้ข้อมูลของคนเรา ได้แก่ ความคิด, การใช้ภาษา การแก้ปัญหา, ความจำ, และ การเรียนรู้ ซึ่งได้ใช้แนวคิดการศึกษากระบวนการเหล่านี้มาจากสำนักการคิดพฤติกรรมนิยม (Behaviorism) แต่จะเน้นการค้นคว้ากับกระบวนการภายในที่ไม่สามารถมองเห็นได้ จิตวิทยาปัญญา ใช้ทำอะไร ความรู้ต่างๆเกี่ยวกับ จิตวิทยาปัญญา สามารถนำไปใช้กับจิตวิทยาสาขาต่างๆได้ เช่น จิตวิทยาการบำบัด (psychotherapy) จิตวิทยาการศึกษา (educational psychology) จิตวิทยาสังคม (social psychology) จิตวิทยาพัฒนาการ (developmental psychology) หรือแม้กระทั่ง ในเชิงเศรษฐศาสตร์ (economics) จากตรงนี้ยังอาจจะยังไม่ภาพเท่าไหร่ว่า จิตวิทยาปัญญา จะเกี่ยวข้องกับสาขาอื่นๆได้อย่างไรบ้าง ในบทความนี้ขอยกตัวอย่างที่เห็นได้ชัดว่านำความรู้ทางด้านจิตวิทยาปัญญามาใช้อย่างหนึ่งก่อนแล้วกันนะคะ จิตวิทยาปัญญาสามารถนำไปใช้รักษาผู้ป่วยทางจิตได้โดยการใช้ Cognitive behavioural therapy (CBT) โดยใช้แนวคิดที่ว่า ความคิดของเราสามารถส่งผลต่อการกระทำของเราได้ เช่น ถ้าเราไม่มั่นใจในตัวเอง คิดว่าตัวเองไม่ค่า ไม่สามารถทำอะไรได้ เราก็จะทำไม่ได้ หรือ บางทีเราก็คิดไปก่อนซะแล้วว่าเราทำไม่ได้ ทั้งๆที่ยังไม่ได้ลองทำเลยด้วยซ้ำไป CBT จะช่วยเราเปลี่ยนความคิดที่เรามีต่อตัวเอง แทนที่จะคิดว่า เราไม่มีค่า ทำอะไรก็ไม่ได้ เปลี่ยนเป็น คิดว่าเราก็ทำได้นะ เราไม่ได้ไร้ค่าสักหน่อย พยายามที่จะเปลี่ยนความคิดที่ส่งผลกับพฤติกรรมไปในทางที่ดีขึ้น เท่านี้ ก็ทำให้เราสามารถมีความมั่นใจในตัวเองมากขึ้น กล้าที่จะทำอะไรมากขึ้น มีพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปแล้วล่ะค่ะ บทความต่อไปจะมาเล่าถึงการทำงานของ CBT กันนะคะ มาดูกันค่ะว่าทำไมแค่ความคิดเปลี่ยนพฤติกรรมถึงเปลี่ยนไปด้วย. |
Archives
February 2016
Categories |