เรื่อง: NusNus
วันก่อนไปนั่งกินข้าวกับเพื่อนที่ตลาดสามย่าน สามย่านเป็นตลาดที่มีจุดเด่นบางอย่างคือทีวีเปิดช่องเดียวกันหมดทุกร้าน อาจจะเป็นกลยุทธ์ความเท่าเทียมของร้านอาหารที่นั่นก็คือ ชนิดอาหาร ราคาอาหาร คุณภาพอาหาร และรายการทีวีที่ดูแกล้มอาหารเหมือนกันหมด! แต่วันนี้ไม่ได้จะพูดเรื่องการตลาดหรือรสชาติอาหาร แต่ที่จะพูดถึงคือสิ่งที่เปิดในขณะนั้นคือละครเรื่อง “จำเลยรัก” ที่ทำให้ผู้เขียนตระหนักว่าละครน้ำเน่ายังคงอยู่คู่สังคมไทยมาเนิ่นนานจนถึงปัจจุบัน ก่อนอื่นขอจำกัดความก่อนว่า “ละครน้ำเน่า” ที่เรียกในที่นี้ไม่ได้มองในแง่ลบ แต่มันเป็นชื่อประเภทของละครที่คนไทยรู้และเข้าใจเป็นอย่างดี (ถ้าเป็นภาษาอังกฤษเขาเรียกกันว่า soap opera) ตั้งแต่ยังเด็กแล้วพ่อชอบบ่นเสมอ ๆ ขณะที่คนทั้งบ้าน (แน่นอนคนเขียนคอลัมน์ด้วย) นั่งดูละครน้ำเน่าเรื่องต่าง ๆ ว่าซ้ำซาก ไร้สาระ เนื้อเรื่องเดาออก แต่คนทั้งบ้านก็ไม่ค่อยจะสนใจและก็นั่งดูต่อไป จนถึงเมื่อวันที่พูดแต่ต้นเรื่อง เพื่อนผู้ชายที่นั่งกินข้าวด้วยกันก็ยังบ่นว่าละครน้ำเน่าไม่มีคุณภาพ และไร้สาระ เรียกกันว่าก็บ่นกันมาร่วมสิบกว่าปีเลยทีเดียว! ถึงจะมีคนบ่น คนด่ายังไง แต่ที่น่าสนใจคือละครน้ำเน่ายังคงอยู่คู่สังคมไทยมานานแสนนาน และยังคงครองใจประชากรส่วนใหญ่ที่ดูทีวีในช่วงหลังข่าวภาคค่ำ ไม่ว่าจะเป็นคุณหญิง นักเรียน แม่ค้า ไปจนถึงทุกคนที่มีทีวี ถึงแม้ตอนนี้เคเบิ้ลทีวีจะได้รับความนิยมเท่าไหร่ แต่เวลาหลังข่าวก็ยังคงเป็นของละครอยู่ดี แน่นอนว่าจิตวิทยาอธิบายเกี่ยวกับคน การที่คนชอบละครน้ำเน่าก็น่าจะอธิบายด้วยจิตวิทยาได้เช่นกัน อาจารย์จิตวิทยาสังคมท่านหนึ่งเคยพูดประเด็นนี้ในห้องเรียน แล้วเคยบอกให้ฟังว่า ที่ละครน้ำเน่าเป็นที่ชื่นชอบของคนไทยส่วนใหญ่ เพราะคนไทยส่วนมากเป็นคนที่มีรายได้ปานกลางถึงต่ำ ละครน้ำเน่าที่มีเรื่องราวของบุคคลร่ำรวย ใส่เสื้อผ้าหรูหราฟู่ฟ่า นางเอกสวย พระเอกหล่อ มันก็เหมือนกับสิ่งที่ไม่ได้เจอในชีวิตประจำวัน และสิ่งเหล่านั้นเป็นสิ่งที่พวกเขาต้องการจะได้ แม่ค้าที่ขายข้าวอยู่ในตลาดกลับมาบ้านคงไม่อยากดูละครที่ทั้งวันนางเอกอยู่ในตลาด พระเอกทำงานอยู่ในโรงงาน เพราะสิ่งเหล่านี้เขาก็คงเห็นอยู่ทุกวันจนเบื่อ อีกส่วนหนึ่งคือเนื้อเรื่องเดิม ๆ เช่น ตัวอิจฉาแย่งพระเอกจากนางเอก พระเอกหึงนางเอกที่อยู่กับเพื่อนเก่า การแก่งแย่งมรดกหลายล้าน จนถึงการสลับลูกของคนรวยและคนจน ทำไมคนถึงยังอยากดูเรื่องราวแบบนี้ ที่หลายเรื่องแค่ดูสองสามตอนแรกก็พอจะเดาตอนอวสานได้แล้ว ตามธรรมชาติของคนเราชอบที่จะเข้าใจมากกว่าจะไม่เข้าใจ เช่น ท่านผู้อ่านที่อ่านมาถึงย่อหน้านี้แล้วยังไม่เข้าใจว่าคนเขียนมันเขียนอะไรของมัน ก็คงไม่ชอบใจแน่ ๆ และคนเราพยายามเติมเต็มสิ่งที่ขาดหาย ถึงแม้จะมีไม่ครบแต่คนเราก็พยายามจะมองให้มันสมบูรณ์ เช่น ท่านผู้อ่านลองอ่านประโยคนี้ ”กา_ครั้_หนึ่_น_นม_แล้_” อ่านว่า “กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว” ถูกต้องเก่งมาก เอาไปสิบคะแนน งั้นลองข้อต่อไป ”_ม่_อ_อี_ แ_ _” เดาถูกไหมว่ามันอ่านว่า “ไม่เอาอีกแล้ว” คนไหนอ่านออกก็ไม่เป็นไร เก่งมากตบมือให้เลย แประ แประ แต่คนอ่านไม่ออกสิ รู้สึกขัดใจบ้างไหม เช่นเดียวกัน ละครไทยเหมือนโจทย์ข้อแรก มองปุ๊บก็เข้าใจทะลุปรุโปร่ง เรื่องราวหรือปมปริศนาในเรื่องก็เดาได้ไม่ยาก จะให้พูดก็คือดูแล้วไม่เครียด และไม่ขัดใจนั่นเอง อีกอย่างคือคนเราชอบความคงเส้นคงวา หรือเสมอต้นเสมอปลาย เช่น 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 15 28 รู้สึกขัดใจกับ 15 28 มั่งหรือเปล่า ถ้าเปลี่ยนเป็น 14 15 จะดูราบรื่นกว่า ละครน้ำเน่าจะมีเนื้อเรื่องที่เดาง่าย และคงเส้นคงวา เช่น ตอนต้นเรื่องนางเอกเกลียดพระเอก ต่อมามีเหตุการณ์ที่ทำให้ทั้งสองคนรักกัน ต่อมาจะมีเหตุการณ์ทำให้ทั้งสองผิดใจกัน แต่ในที่สุดทั้งสองก็จะแต่งงานกันอย่างมีความสุข เรียกได้ว่าพอดูปุ๊บก็รู้ตอนจบทันที แล้วก็จบแบบนั้นจริง ๆ เสียด้วย ไม่มีเลข 15 28 มาให้ขัดใจเหมือนหนังสมัยใหม่ที่มีหักมุม ซ่อนเงื่อน ก็ไม่ได้หมายความว่าละคร หรือหนังที่มีปริศนาเข้าใจยาก หรือเดาเนื้อเรื่องไม่ได้เลย จะไม่ใช่ละครที่ดี แต่ว่ากลุ่มเป้าหมายมันต่างกัน เพราะคนส่วนใหญ่ที่ดูละครน้ำเน่า ดูเพื่อคลายเครียดจากการทำงานเหนื่อยล้ามาทั้งวัน เรื่องที่เข้าใจง่ายเดาง่ายมันย่อมไม่ขัดใจ และเบาสมองมากกว่า เรื่องแบบนี้ไม่ว่าเวลาผ่านไปนานเท่าไหร่ก็เหมือนเดิม เสน่ห์อีกอย่างของละครไทยคือต้องดูเป็นหมู่คณะถึงจะสนุก ดูแล้วเงียบ ๆ คิดอยู่คนเดียวไม่สนุกแน่ ๆ ต้องดูกับเพื่อนฝูง หรือครอบครัว คอยวิจารณ์ และเดากับคนอื่น ๆ ว่าฉากต่อไปจะเกิดอะไรขึ้นจะสนุกมากขึ้นหลายเท่า ไม่เชื่อคืนนี้หลังข่าวลองเรียกคนในครอบครัวมาดู อาจได้อรรถรส และสร้างความสามัคคีในหมู่คณะไปในตัว แล้ว น. 13+ จะมีประโยชน์ก็งานนี้แหละ โดย Pikabenz สารคดีตอบคำถามว่า เราจะทำยังไงให้เรามีความสุข Link: https://www.youtube.com/watch?v=v2MHjk7kzDQ เขียนโดย ครูเปิ้ล สุดารัตน์ ศรีสุรกานต์
ตอนเด็กๆเคยหกล้มมั้ยคะ เราโทษว่าพื้นไม่เรียบ..หรือโทษตัวเองว่าเดินไม่ดี เราโทษใคร? โตมาเคยสอบตก หรือคะเเนนไม่ดีมั้ยคะ เราโทษว่าข้อสอบยาก...หรือเราตอบไม่ตรงจุดได้คะเเนนเอง เราโทษใคร? ต่อมาเคยตกงาน ทำงานพลาด ทำโปรเจคเจ๊ง บ้างมั้ยคะ? เราโทษว่าเจ้านายไม่ดี ทีมงานไม่เวิร์ค หรือเราไม่มีวิธีคิด..วิธีการที่จะพางานสำเร็จเอง.. เราโทษใคร? ในทางพฤติกรรมศาสตร์ ( Behavioural sciences ) 'ความคิด' กำหนด'พฤติกรรม' ถ้าเราคิดโทษว่าคนอื่นผิด..เท่ากับเราคิดว่าเรา..ดีอยู่เเล้ว ดังนั้น ถ้าเราคิดว่าเรา..ดีอยู่เเล้ว.. เท่ากับเราคิดว่าเรา..ไม่ต้องเปลี่ยนเเปลงปรับปรุงอะไร แท้จริงเเล้ว "ความก้าวหน้าในสิ่งใดก็ตาม..คือการเปลี่ยนแปลงไป ในทางที่ดีขึ้น" ชีวิตก็ไม่ต่างกัน ชีวิตจะก้าวหน้าไม่ได้ ถ้าชีวิตไม่เกิดการเปลี่ยนเเปลง ถ้าเราเดินหกล้ม แล้วบอกพื้นไม่ดี มันลื่น มันยื่น มันไม่เรียบ คนนั้นคนนี้ก็เคยสะดุด เราจะปรับพฤติกรรม มาตั้งใจเดินให้ดีกว่าเดิมมั้ย ? ก็ไม่ปรับ..จริงมั้ยคะ ^^ แต่ หากยอมรับว่าเราอาจมีจุดพลาดเอง เมื่อเราไม่คิดโทษใคร ยอมรับจากใจว่า'เรา'มีส่วนทำให้มันพลาด มันผิด เราจะเร่งเรียนรู้เพื่อเปลี่ยนเเปลงตัวเองให้ดีขึ้น ด้วยตัวเอง จากนี้ เราจะไม่ใช่เเค่คนที่เดินได้ดีขึ้น การมองโลกก็ดีขึ้น งานก็ก้าวหน้า พัฒนาได้ดีขึ้น ชีวิตก็เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น เช่นกัน ..................... ส่งงานล่าช้า.. โทษอะไรดีคะ? เราโทษว่าชีวิตมีเเต่เรื่องยุ่งจนไม่มีเวลา หรือตัวเราเองนั่นเเหละที่จัดสรรเวลาไม่ได้เอง คิดโทษคนอื่น ก็ยุ่ง เครียด ส่งงานช้าต่อไป คิดโทษตัวเอง ตัวเองก็จะตั้งใจหาวิธีการ จัดสรรเวลาใหม่ให้มีประสิทธิภาพ ลงตัว จากนี้ คิดโทษจุดไหน ดีกับชีวิตและใจเรากว่ากัน เรานั้น "เป็นผู้เลือกเอง" เขียนโดย ครูเปิ้ล สุดารัตน์ ศรีสุรกานต์ https://www.facebook.com/minddirector
"วินัย...เป็นพี่ของความสำเร็จ" การตัดสินใจประสบความสำเร็จ ไม่ได้ทำให้เราประสบความสำเร็จนะคะ แต่การ"ทำติดต่อกัน" ซ้ำๆ จนเป็น"นิสัยใหม่" ต่างหาก ที่ทำให้ประสบความสำเร็จ อยากผอม จะไม่ทานข้าวเย็น ถามว่าทำได้มั้ย...ยากมั้ย? ไม่ยากหรอกค่ะ บอกเลยเพราะมันเเค่ มื้อเดียว ใครก็ทำด้ายย คำถามคือ คุณทำได้กี่วันคะ ถ้าบอกว่าการผอมลง คือการไม่ทานข้าวเย็น"ติดต่อกัน3เดือน" ถามอีกทีสิคะ..ว่าทำได้มั้ย? ...เริ่มไม่เเน่ใจเเล้วใช่มั้ยคะ... อยากมีสุขภาพดี..เรารู้ว่าต้องแบ่งเวลามาออกกำลังกาย ถามว่าทำได้มั้ย..ยากมั้ย? ก็อาจจะยากสำหรับการเริ่มต้น แต่มันยังไม่ส่งผลให้คุณสุขภาพดีได้ ถ้าคุณออกกำลังกาย ...เเค่พรุ่งนี้เช้า..วันเดียว!!... ต้นปีที่สดใส...คุณมีเป้าหมาย...ใครก็มีเป้าหมาย เเต่สิ่งหนึ่งที่ทำให้คุณคว้าเป้าหมายไม่ได้ เพราะคุณ"ไม่ได้สร้างนิสัย" ของคนที่"เหมาะสม"จะครอบครองเป้าหมายนั้นเลย.. โปรดฟังอีกครั้ง คุณไม่ได้สร้างนิสัย ของคนที่"เหมาะสม"ที่จะครอบครองเป้าหมายนั้นเลย โอเค...เป้าหมายของเราอาจจะชัดเจนมาก เราบอกตัวเองชัดมากวากกก..ว่าอยากได้อะไร...อยากเป็นอะไร อยากไปไหน...ใช้เงินเท่าไหร่...อยากได้เมื่อไหร่... แต่พอ15วัน ผ่านไป กระดาษเเผ่นนั้น หายไปไหนเเล้วม่ายรู้ (เคยเป็นเหมือนกันค่ะ..เข้าใจดี ณ จุดนี้ ^^") อย่าหลงทางว่า "เเค่คุณคิด"คุณจะได้ "แค่คุณเชื่อ" คุณก็จะได้!!! จริงอยู่..ที่ความคิด และความเชื่อ มีพลังดึงดูดสิ่งที่ต้องการได้ เเต่คุณต้องจดจ่อกับมันอย่างสุดจิตสุดใจ สม่ำเสมอ ทุกค่ำเช้า เมื่อจดจ่อจน "ละใจ" จากสิ่งนี้ไม่ได้ คุณจะทำทุกวิถีทางให้ได้สิ่งที่คุณหวังไว้...อย่างไร้ข้ออ้าง เเละนั่น...ก็เป็นกุศโลบายที่ฉุดให้เรา"ต่อเนื่องกับเป้าหมาย"นั่นเอง ...................................................... คุณจะรับรัก คนที่มาคุยกับคุณเเค่2ครั้งก็ไป หรือคนที่คอยห่วงใย..ใส่ใจคุณทุกเช้าค่ำ..ต่อเนื่องครึ่งปีคะ? ...ถ้า2คนนั้น...ดีพอกัน...น่ารักพอกัน..คุณเองก็มีใจให้เค้าพอๆกัน ขนาดเป้าหมายของหัวใจ...ยังต้องมี"วินัย"มากำกับเลย เเล้วเป้าหมายชีวิตที่สำคัญยิ่งของคุณล่ะคะ "เก่งไม่กลัว กลัวไม่ต่อเนื่องค่ะ" เรื่อง : Canon in D, MUTH วันนี้พี่หมีรับเชิญคนเขียนมาใหม่ขอรับ ขอชวนเธอมาเล่นเกมสัญลักษณ์ เกมเชิงจิตวิทยา ที่เคยคิดแล้วเอามาเล่นกัน ไม่ใช่เกมจิตวิทยาหมู่…แน่นอน… กติกาก็ง่ายมาก อะหนึ่ง จิกเพื่อนมาล้อมวงกันซักไม่เกิน 10 คน ทำไมต้องไม่เกิน เพราะ ทุกคนจะได้เห็นหน้าและได้ยินเสียงที่พูด ทุกคนต้อง”ฟัง”กันและกัน อะสอง ให้ทุกคนคิดหาสัญลักษณ์ที่แทนตัวเองได้ดีที่สุดหนึ่งอย่าง เช่นพวก สิ่งของ สัตว์ พืช ทรัพยากรธรรมชาติทั้งหลาย ประมาณนี้ อะสาม เขียนใส่กระดาษ ส่งให้ Group Leader ไม่ใช่ cheer leader…. Group Leader ก็หยิบมาทีละแผ่น อ่านให้คนในกลุ่มฟัง อะสี่ แล้วให้ทุกคนทายว่า อันนี้เป็นสัญลักษณ์ของใคร พอพูดครบทั้งวง รวมถึงคนที่เขียนด้วย ก็เฉลยซะว่าแต่ละคนทำไมถึงแทนตัวเองเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ แค่นี้เอง (เกมนี้ยกเครดิตให้คุณเดียร์เป็นคนเริ่มคิด) เกมนี้ เล่นไปทำไม? อะหนึ่ง สอนให้รู้จักคิดและมองเข้าไปที่ตัวเองอย่างง่ายๆ อะสอง ฝึกให้มีทักษะการฟังโดยฟังผู้อื่นจริงๆ ไม่ใช่แค่ได้ยินเฉยๆ ซึ่งเป็นหนึ่งในทักษะที่คนที่จะเป็นนักจิตวิทยาการปรึกษา ควรจะมีที่ไม่ใช่แค่มีเฉยๆ แต่ต้องมีเยอะๆเลยล่ะว่างๆ ก็เอาไปเล่นดูสิ จะได้รู้ว่าเพื่อนๆ มองเรา และเรามองเพื่อนๆ ยังไงบ้าง อ้อ…คนที่เป็น Leader ควรมีทักษะการฟัง และก็สรุปสิ่งที่เพื่อนพูดมาให้เข้าใจได้พอสมควรนะจ้ะ แต่ไม่แนะนำให้เล่นกะเพื่อนสนิทนะ เดี๋ยวไม่หนุก เพราะรู้ไต๋กันอยู่ เสริมก่อนจากกันเกี่ยวกับจิตวิทยาปรึกษา จิตปรึก หรือจิตปึก หรือเรียกอย่างสั้นๆว่า จิตวิทยาการปรึกษา หรือเรียกว่า Counseling Psychology (อ่านว่า เค้าเซลลิ่ง นะจ้ะ) จิตปรึกต่างจากการแนะแนว (Guidance กายแด้นส์) เพราะ แนะแนวคือการแนะนำ แบบโช๊ะๆ ชี้นำไปเลย แต่การให้บริการปรึกษา คือ ให้คำปรึกษาโดยคนที่ให้บริการจะทำหน้าที่เหมือนเพื่อนร่วมเดินทางที่ไม่ชี้นำ การให้คำปรึกษาเนี่ยมีหลากหลายแนวทางให้เลือกใช้ผสมผสานกัน อย่างเช่น แนวคิดของคุณฟรอยด์ (Freudian) และก็มีแนวคิดที่เชื่อมั่นในความสามารถมนุษย์ว่าคนเราเนี่ยคิดแก้ปัญหาเองได้ (Humanism) นอกจากนี้ก็แนวคิดที่มองว่าคนที่มีปัญหาควรจะใช้เหตุผลและอารมณ์ที่มันใช่ที่มันถูกต้องต่อเหตุการณ์หนึ่งๆอย่างเหมาะสม เรียกว่า (Rational Emotive Behavior Therapy)ไปใช้บริการการปรึกษาเพื่ออะไร อะหนึ่ง เพื่อให้เธอสบายใจ ลดความเครียด โล่ง ปลอดโปร่งทั้งหัวสมองและอารมณ์ อย่างเช่น ตอนที่เธอมีปัญหา เธอก็จะได้จัดการกับอารมณ์แย่ๆเหล่านั้นให้ออกไปได้อย่างเหมาะสมและถูกวิธี อะสอง เพื่อให้เธอได้พัฒนาตนเองให้เป็นคนที่ดี จิตใจงอกงามเติบโตเหมือนต้นไม้ต้นหนึ่งยังไงยังงั้น ลองไปใช้บริการการปรึกษาแบบนี้ดูสิ บางทีปัญหาของเธอก็อาจเกินความสามารถของเพื่อนที่เธอขอคำปรึกษาอยู่ก็ได้นะ. |
Archives
February 2016
Categories |