เขียนโดย พงศ์มนัส บุศยประทีป
เชื่อว่าทุกๆ ท่านคงเคยได้ยินอาชีพ “นักจิตวิทยา” กันบ่อยๆ และหากท่านได้อ่านบทความ “จิตวิทยาคืออะไรกันแน่” และ “จิตแพทย์ – นักจิตวิทยา?” ท่านคงรู้แล้วว่า นักจิตวิทยาไม่เหมือนกับจิตแพทย์ โดยจิตแพทย์นั้นคือแพทย์ที่เรียนต่อทางจิตเวช เพื่อรักษาอาการผิดปกติทางจิต โดยมีวิธีการบำบัดแตกต่างกันไป แต่ส่วนใหญ่แล้วจะมุ่งเน้นที่การใช้ยา ส่วนนักจิตวิทยานั้นเป็นบุคคลที่จบปริญญามาทางจิตวิทยา พอตัดส่วนนี้ออกไปได้แล้ว หลายๆ ท่านเลยรู้สึกว่า “อ้าว ถ้าจิตแพทย์ไม่ใช่นักจิตวิทยา แล้วนักจิตวิทยาเขาทำงานอะไรกันล่ะ” ในบทความนี้เราจะมาตอบคำถามนี้กัน
ก่อนอื่นมาทำความเข้าใจกันก่อนนักจิตวิทยานั้นไม่ว่าจะเป็นนักจิตวิทยาที่ทำงานแบบไหน ต่างก็จบจากปริญญาทางจิตวิทยามาทั้งนั้น อาจจะเป็นคณะจิตวิทยา หรือสาขาจิตวิทยาในคณะมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ ครุศาตร์ หรือสาขาอื่นๆ แล้วแต่มหาวิทยาลัย โดยจิตวิทยาเองก็มีหลากหลายสาขา เช่น จิตวิทยาพัฒนาการ จิตวิทยาสังคม จิตวิทยาการปรึกษา จิตวิทยาคลินิก จิตวิทยาชุมชน
นักจิตวิทยานั้นมีงานที่แตกต่างกันมาก ขึ้นกับสาขาที่เรียน เพื่อให้เห็นภาพ ผมขอแบ่งนักจิตวิทยาออกเป็น 4 ประเภทใหญ่ๆ
ประเภทแรก คือนักจิตวิทยาสายสุขภาพ นักจิตวิทยาพวกนี้จะทำงานในโรงพยาบาลเสียส่วนใหญ่ครับ นักจิตวิทยาที่พ่อๆ แม่ๆ อาจจะรู้จักกันดีคือ นักจิตวิทยาเด็ก ซึ่งเป็นนักจิตวิทยาจบมาทางจิตวิทยาพัฒนาการ (Developmental Psychology) โดยมีความเชี่ยวชาญพฤติกรรมของเด็กๆ ในโรงพยาบาลนอกจากการให้ยาแล้ว การบำบัดด้วยวิธีอื่น เช่น การกระตุ้นพฤติกรรมที่ล่าช้า หรือมีความผิดปกติทางในด้านต่างๆ เช่น เรื่องการพูด ในส่วนนี้เป็นหน้าที่ของนักจิตวิทยาเด็กครับ นอกจากนี้ยังมีนักจิตวิทยาคลินิก (Clinical Psychologist) ที่ทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยจิตแพทย์ โดยนักจิตวิทยาคลินิกจะทำหน้าที่ช่วยแพทย์ประเมินคนไข้ด้วยเครื่องมือทางจิตวิทยา เช่น แบบทดสอบต่างๆ ว่าอาการของคนไข้เป็นอาการผิดปกติแบบใด นอกจากนี้นักจิตวิทยาคลินิกยังมีบทบาทในการช่วยเหลือบำบัดอาการผิดปกติทางจิตนอกเหนือจากการใช้ยาอีกด้วย หากพูดถึงการบำบัด ท่านน่าจะคุ้นเคยคำว่าการให้คำปรึกษา ซึ่งนักจิตวิทยาอีกแบบที่คอยมาพูดคุย บำบัดความเครียด หรือความทุกข์ เรียกว่านักจิตวิทยาการปรึกษา (Counseling Psychologist) นั่นเอง โดยนักจิตวิทยาการปรึกษานั้นให้บริการบุคคลทั่วไปที่มีความเครียด และความทุกข์อีกด้วย ไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ป่วยจิตเวชเสมอไป
รูปแบบถัดมาคือนักจิตวิทยาที่ทำงานวิจัย นักจิตวิทยาพวกนี้มักจะอยู่ในมหาวิทยาลัยเป็นหลักครับ เช่นเดียวกันกับศาสตร์อื่นๆ การที่ความรู้จะเพิ่มพูนขึ้นได้นั้น ย่อมมีผู้ที่ทำหน้าที่วิจัยเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ นอกจากนักเรียน นักศึกษาที่ต้องทำวิจัยแล้ว ยังมีบุคคลที่ทำงานวิจัยเป็นอาชีพ และหากหัวข้อในการวิจัยเกี่ยวข้องกับจิตวิทยา บุคคลนั้นก็เรียกได้ว่าเป็นนักจิตวิทยาเช่นกัน นักจิตวิทยาประเภทนี้มีอยู่ทุกสาขาแล้วแต่ว่าจะวิจัยหัวข้อไหนทางจิตวิทยา การวิจัยก็มีอยู่หลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการวิจัยในห้องทดลอง การวิจัยที่เก็บข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถาม การสัมภาษณ์ ฯลฯ
อีกหนึ่งรูปแบบคือนักจิตวิทยาที่ทำงานในสถานที่อื่นๆ นักจิตวิทยาประเภทนี้ไม่ได้ทำงานวิจัย หรือไม่ได้ทำเป็นหลักนะครับ แต่เป็นนักจิตวิทยาที่ไว้ช่วยงานที่จำเป็นต้องมีนักจิตวิทยาเข้าช่วย ตัวอย่างหนึ่งได้แก่นักจิตวิทยาในโรงเรียน ซึ่งทำหน้าที่หลายอย่างๆ เช่น การแนะแนวการศึกษา หรือการให้คำปรึกษาแก่นักเรียนที่มีปัญหา (แต่ส่วนใหญ่แล้วโรงเรียนจะมีอาจารย์แนะแนวคอยทำหน้าที่นี้แทน) นอกจากนี้ในกระบวนการยุติธรรม หรือศาลนั้น เกี่ยวข้องกับความซับซ้อนกับพฤติกรรมของบุคคลอย่างมาก บางที่เลยมีนักจิตวิทยาที่คอยให้คำแนะนำเกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรมในบางขั้นตอน โดยเฉพาะกรณีที่มีเด็กมาขึ้นศาล ก็ต้องมีนักจิตวิทยาคอยดูแลในส่วนนี้ด้วย นอกจากนี้ยังมีนักจิตวิทยาที่ทำงานต่อจากขั้นตอนดังกล่าว ก็คือราชทัณฑ์ หรือเรือนจำนั่นเองครับ ที่นักจิตวิทยาต้องคอยดูแลผู้ที่ถูกจองจำเช่นกัน
รูปแบบสุดท้ายคือ บุคคลที่มีความรู้ทางจิตวิทยา แต่ไม่ใช่นักจิตวิทยา โดยบุคคลที่จบทางจิตวิทยา แต่ไม่ได้ทำงานทางจิตวิทยาเป็นหลัก แต่ใช้ความรู้และทักษะที่เกี่ยวกับจิตวิทยาในการทำงาน เช่น พนักงานฝ่ายบุคคลต่างองค์กรต่างๆ พนักงานการตลาด นักวิจัยการตลาด และรวมถึงอาจารย์แนะแนวตามโรงเรียนที่จบมาทางจิตวิทยาการแนะแนวด้วยครับ ที่เราไม่ได้เรียกบุคคลเหล่านี้ว่านักจิตวิทยา เพราะงานของเขานั้นมีสัดส่วนที่ต้องใช้ทักษะอื่นๆ อยู่มากเช่นกัน ดังนั้นจิตวิทยาจึงเป็นเหมือนส่วนเสริมในอาชีพของพวกเขานั่นเอง
ในบทความนี้เป็นเพียงแค่ตัวอย่างให้เห็นภาพกว้างๆ นะครับ จริงๆ แล้วยังมีนักจิตวิทยาสายอื่นๆ อีกมากมาย นอกจากนี้อาชีพที่ใช้ความรู้หรือทักษะทางจิตวิทยาก็เรียกได้ว่ามีไม่จำกัด อาชีพที่ต้องทำงานกับคนนั้น ไม่ว่าอาชีพไหนก็สามารถนำจิตวิทยาไปประยุกต์ได้ทังนั้นครับ.
เชื่อว่าทุกๆ ท่านคงเคยได้ยินอาชีพ “นักจิตวิทยา” กันบ่อยๆ และหากท่านได้อ่านบทความ “จิตวิทยาคืออะไรกันแน่” และ “จิตแพทย์ – นักจิตวิทยา?” ท่านคงรู้แล้วว่า นักจิตวิทยาไม่เหมือนกับจิตแพทย์ โดยจิตแพทย์นั้นคือแพทย์ที่เรียนต่อทางจิตเวช เพื่อรักษาอาการผิดปกติทางจิต โดยมีวิธีการบำบัดแตกต่างกันไป แต่ส่วนใหญ่แล้วจะมุ่งเน้นที่การใช้ยา ส่วนนักจิตวิทยานั้นเป็นบุคคลที่จบปริญญามาทางจิตวิทยา พอตัดส่วนนี้ออกไปได้แล้ว หลายๆ ท่านเลยรู้สึกว่า “อ้าว ถ้าจิตแพทย์ไม่ใช่นักจิตวิทยา แล้วนักจิตวิทยาเขาทำงานอะไรกันล่ะ” ในบทความนี้เราจะมาตอบคำถามนี้กัน
ก่อนอื่นมาทำความเข้าใจกันก่อนนักจิตวิทยานั้นไม่ว่าจะเป็นนักจิตวิทยาที่ทำงานแบบไหน ต่างก็จบจากปริญญาทางจิตวิทยามาทั้งนั้น อาจจะเป็นคณะจิตวิทยา หรือสาขาจิตวิทยาในคณะมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ ครุศาตร์ หรือสาขาอื่นๆ แล้วแต่มหาวิทยาลัย โดยจิตวิทยาเองก็มีหลากหลายสาขา เช่น จิตวิทยาพัฒนาการ จิตวิทยาสังคม จิตวิทยาการปรึกษา จิตวิทยาคลินิก จิตวิทยาชุมชน
นักจิตวิทยานั้นมีงานที่แตกต่างกันมาก ขึ้นกับสาขาที่เรียน เพื่อให้เห็นภาพ ผมขอแบ่งนักจิตวิทยาออกเป็น 4 ประเภทใหญ่ๆ
ประเภทแรก คือนักจิตวิทยาสายสุขภาพ นักจิตวิทยาพวกนี้จะทำงานในโรงพยาบาลเสียส่วนใหญ่ครับ นักจิตวิทยาที่พ่อๆ แม่ๆ อาจจะรู้จักกันดีคือ นักจิตวิทยาเด็ก ซึ่งเป็นนักจิตวิทยาจบมาทางจิตวิทยาพัฒนาการ (Developmental Psychology) โดยมีความเชี่ยวชาญพฤติกรรมของเด็กๆ ในโรงพยาบาลนอกจากการให้ยาแล้ว การบำบัดด้วยวิธีอื่น เช่น การกระตุ้นพฤติกรรมที่ล่าช้า หรือมีความผิดปกติทางในด้านต่างๆ เช่น เรื่องการพูด ในส่วนนี้เป็นหน้าที่ของนักจิตวิทยาเด็กครับ นอกจากนี้ยังมีนักจิตวิทยาคลินิก (Clinical Psychologist) ที่ทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยจิตแพทย์ โดยนักจิตวิทยาคลินิกจะทำหน้าที่ช่วยแพทย์ประเมินคนไข้ด้วยเครื่องมือทางจิตวิทยา เช่น แบบทดสอบต่างๆ ว่าอาการของคนไข้เป็นอาการผิดปกติแบบใด นอกจากนี้นักจิตวิทยาคลินิกยังมีบทบาทในการช่วยเหลือบำบัดอาการผิดปกติทางจิตนอกเหนือจากการใช้ยาอีกด้วย หากพูดถึงการบำบัด ท่านน่าจะคุ้นเคยคำว่าการให้คำปรึกษา ซึ่งนักจิตวิทยาอีกแบบที่คอยมาพูดคุย บำบัดความเครียด หรือความทุกข์ เรียกว่านักจิตวิทยาการปรึกษา (Counseling Psychologist) นั่นเอง โดยนักจิตวิทยาการปรึกษานั้นให้บริการบุคคลทั่วไปที่มีความเครียด และความทุกข์อีกด้วย ไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ป่วยจิตเวชเสมอไป
รูปแบบถัดมาคือนักจิตวิทยาที่ทำงานวิจัย นักจิตวิทยาพวกนี้มักจะอยู่ในมหาวิทยาลัยเป็นหลักครับ เช่นเดียวกันกับศาสตร์อื่นๆ การที่ความรู้จะเพิ่มพูนขึ้นได้นั้น ย่อมมีผู้ที่ทำหน้าที่วิจัยเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ นอกจากนักเรียน นักศึกษาที่ต้องทำวิจัยแล้ว ยังมีบุคคลที่ทำงานวิจัยเป็นอาชีพ และหากหัวข้อในการวิจัยเกี่ยวข้องกับจิตวิทยา บุคคลนั้นก็เรียกได้ว่าเป็นนักจิตวิทยาเช่นกัน นักจิตวิทยาประเภทนี้มีอยู่ทุกสาขาแล้วแต่ว่าจะวิจัยหัวข้อไหนทางจิตวิทยา การวิจัยก็มีอยู่หลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการวิจัยในห้องทดลอง การวิจัยที่เก็บข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถาม การสัมภาษณ์ ฯลฯ
อีกหนึ่งรูปแบบคือนักจิตวิทยาที่ทำงานในสถานที่อื่นๆ นักจิตวิทยาประเภทนี้ไม่ได้ทำงานวิจัย หรือไม่ได้ทำเป็นหลักนะครับ แต่เป็นนักจิตวิทยาที่ไว้ช่วยงานที่จำเป็นต้องมีนักจิตวิทยาเข้าช่วย ตัวอย่างหนึ่งได้แก่นักจิตวิทยาในโรงเรียน ซึ่งทำหน้าที่หลายอย่างๆ เช่น การแนะแนวการศึกษา หรือการให้คำปรึกษาแก่นักเรียนที่มีปัญหา (แต่ส่วนใหญ่แล้วโรงเรียนจะมีอาจารย์แนะแนวคอยทำหน้าที่นี้แทน) นอกจากนี้ในกระบวนการยุติธรรม หรือศาลนั้น เกี่ยวข้องกับความซับซ้อนกับพฤติกรรมของบุคคลอย่างมาก บางที่เลยมีนักจิตวิทยาที่คอยให้คำแนะนำเกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรมในบางขั้นตอน โดยเฉพาะกรณีที่มีเด็กมาขึ้นศาล ก็ต้องมีนักจิตวิทยาคอยดูแลในส่วนนี้ด้วย นอกจากนี้ยังมีนักจิตวิทยาที่ทำงานต่อจากขั้นตอนดังกล่าว ก็คือราชทัณฑ์ หรือเรือนจำนั่นเองครับ ที่นักจิตวิทยาต้องคอยดูแลผู้ที่ถูกจองจำเช่นกัน
รูปแบบสุดท้ายคือ บุคคลที่มีความรู้ทางจิตวิทยา แต่ไม่ใช่นักจิตวิทยา โดยบุคคลที่จบทางจิตวิทยา แต่ไม่ได้ทำงานทางจิตวิทยาเป็นหลัก แต่ใช้ความรู้และทักษะที่เกี่ยวกับจิตวิทยาในการทำงาน เช่น พนักงานฝ่ายบุคคลต่างองค์กรต่างๆ พนักงานการตลาด นักวิจัยการตลาด และรวมถึงอาจารย์แนะแนวตามโรงเรียนที่จบมาทางจิตวิทยาการแนะแนวด้วยครับ ที่เราไม่ได้เรียกบุคคลเหล่านี้ว่านักจิตวิทยา เพราะงานของเขานั้นมีสัดส่วนที่ต้องใช้ทักษะอื่นๆ อยู่มากเช่นกัน ดังนั้นจิตวิทยาจึงเป็นเหมือนส่วนเสริมในอาชีพของพวกเขานั่นเอง
ในบทความนี้เป็นเพียงแค่ตัวอย่างให้เห็นภาพกว้างๆ นะครับ จริงๆ แล้วยังมีนักจิตวิทยาสายอื่นๆ อีกมากมาย นอกจากนี้อาชีพที่ใช้ความรู้หรือทักษะทางจิตวิทยาก็เรียกได้ว่ามีไม่จำกัด อาชีพที่ต้องทำงานกับคนนั้น ไม่ว่าอาชีพไหนก็สามารถนำจิตวิทยาไปประยุกต์ได้ทังนั้นครับ.