psychola.net จิตวิทยาในชีวิตประจำวัน

  • Home
  • Guidance
  • Applied
  • Movement
  • Books
  • About
  • Home
  • Guidance
  • Applied
  • Movement
  • Books
  • About

Applied
​จิตวิทยาใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างไร

นักจิตวิทยาชี้ ทำไมพ่อแม่ถึงควรกอดเด็กๆ (Let's give a hug)

1/10/2015

Comments

 
Picture
เขียนโดย Pim Nattanee Sukpreedee www.pimandchildren.com

การกอด เป็นหนึ่งในกิจกรรมที่ครูพิมชอบมากค่ะ โดยเฉพาะเวลากอดเด็กเล็กๆ ทั้งด้วยความหมั่นเขี้ยวและเอ็นดู เวลากอดเด็กตัวนิ่มๆ นี่จะรู้สึกดีมาก เหมือนได้เติมพลัง ทำให้เรามีความสุขเพิ่มขึ้นอีกเยอะเลย

ครูพิมเองก็เชื่อว่า พ่อแม่ทุกคนรวมถึงใครก็ตามที่ได้มีโอกาสใช้เวลาอยู่กับเจ้าตัวเล็ก ย่อมอยากที่จะกอดจะหอมเป็นธรรมดา

แต่ก็มีหลายๆ ครั้งค่ะ ที่การแสดงความรักอย่าง "การกอด" นั้น ถูกละเลยไปอย่างน่าเสียดาย บ้างก็เพราะไม่มีเวลา บ้างก็เพราะเขินอาย บ้างก็กลับไปคิดว่า การกอดจะทำให้ลูกกลายเป็นลูกแหง่หรือติดแม่ติดพ่อ ซึ่งในความเป็นจริงเรื่องการติดแม่กับเรื่องการกอดนี่เป็นคนละเรื่องเลยค่ะ

เรามาต่อที่เรื่องของการกอดกันดีกว่าค่ะ

คุณพ่อคุณแม่รู้หรือไม่คะว่า การกอดนั้นไม่ใช่เพียงแค่เป็นการแสดงความรักเท่านั้น แต่ยังส่งผลต่อพัฒนาการด้านต่างๆ ของเด็กๆ อีกด้วยค่ะ ไม่ว่าจะเป็น

- ทำให้เด็กรู้สึกอบอุ่น มีความใกล้ชิดทางใจ ไว้ใจและรู้สึกปลอดภัย

- ลดความเครียด เพราะเด็กๆ เองก็มีความเครียดตามช่วงวัยเช่นกันค่ะ ทั้งการเครียดจากความเปลี่ยนแปลงอันรวดเร็วของร่างกาย และความเครียดที่เป็นผลจากความสามารถที่จำกัด เช่น ยังเดินไม่เร็ว สื่อสารไม่ได้ ไปไหนมาไหนเองไม่สะดวก เป็นต้น

- การกอดเป็นความรู้สึกที่อยู่ในจิตใต้สำนึก (ความรู้สึกเหมือนการอยู่ในท้องแม่) ดังนั้น การกอดเด็กๆ จะช่วยสร้างความรู้สึกผูกพันได้เป็นอย่างดีค่ะ

- การกอดทำให้อารมณ์ดีและลดความรู้สึกก้าวร้าวลง ครูพิมแนะนำว่า ในเวลาที่เด็กๆ รู้สึกหงุดหงิด เริ่มมีกิริยาก้าวร้าว รุนแรง ผู้ใหญ่อย่างเราสามารถใช้การกอดในการระงับอารมณ์และลดพฤติกรรมก้าวร้าวที่กำลังจะเกิดขึ้นได้ค่ะ

เห็นประโยชน์ขนาดนี้แล้ว ทีนี้มาดูกันต่อค่ะว่า แล้วต้อง "กอดอย่างไร" ล่ะ ถึงจะเรียกได้ว่าเป็นการกอดที่ "ทรงพลัง"

เทคนิคมีเพียง 3 ข้อง่ายๆ ค่ะ

1) กอดแบบอกชนอก หรือหันหน้าเข้าหากัน

การกอดแบบนี้ถูกจัดว่าเป็นการกอดที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด เพราะทำให้เกิดความรู้สึกใกล้ชิด และด้วยตำแหน่งของการกอดแบบนี้ จะช่วยกระตุ้นการทำงานของต่อมไธมัส ซึ่งช่วยปรับสมดุลการทำงานของเม็ดเลือดขาว ซึ่งจะช่วยให้เรามีสุขภาพดีขึ้นอีกด้วย

2) กอดกันนานๆ ขึ้นอีกนิด

มีการศึกษาพบว่า ระยะเวลาของการกอดที่ดีต่อร่างกายและความรู้สึกมากที่สุดอยู่ที่ 6 วินาที ฟังดูเหมือนจะนานนะคะ แต่การกอดกันนานๆ ก็ย่อมจะดีกว่าการกอดแบบรวดเร็วเหมือนขอไปทีไม่ใช่หรือ

3) กอดกันวันละ 6-10 ครั้ง

ตรงนี้ผู้ปกครองหลายคนอาจจะบอกว่า ไม่มีเวลาหรอก หรือไม่ก็อาจจะคิดว่า บ่อยไปไหมคะ อันที่จริงแล้ว กอดยิ่งบ่อยก็ยิ่งดีค่ะ แต่หากว่าไม่รู้จะใช้โอกาสอะไรในการกอดดี ขอให้เริ่มที่กอดหลังตื่นนอน และกอดก่อนเข้านอนก่อนเลยค่ะ เท่านี้ก็ได้อย่างต่ำวันละ 2 ครั้งแล้ว และหากเป็นเด็กในวัยเรียน เราก็เพิ่มมาอีก 2 ครั้งจากการกอดก่อนไปเรียน และกอดหลังเลิกเรียน เห็นไหมคะ ว่าเราหาโอกาสกอดให้เป็นกิจวัตรได้ไม่ยากเลย อีกไม่กี่ครั้งที่เหลือ ครูพิมเชื่อว่าเราหาโอกาสได้แน่ๆ ค่ะ หรือถ้าไม่มีโอกาสพิเศษ เราก็ใช้โอกาส "อยากจะกอด" ก็ได้นะคะ ไม่ว่ากัน

ด้วยเทคนิคง่ายๆ เพียง 3 ข้อนี้
คุณก็สามารถที่จะสร้าง "กอดที่ทรงพลัง" ให้กับเด็กๆ ได้แล้วหละค่ะ
แล้วเราก็เตรียมรอดูได้เลยว่า กอดอันทรงพลังของเรานั้น จะส่งพลังอะไรไปให้เด็กๆ (และตัวเรา) ได้บ้าง...เชื่อเถอะค่ะว่า จะต้องมีแต่พลังของสิ่งที่ดีๆ เกิดขึ้นแน่นอน.
Comments

    Archives

    December 2015
    November 2015
    October 2015
    September 2015

    Categories

    All
    แนะแนว

    RSS Feed

Home
Contact
Psychola.net เว็บนิตยสารออนไลน์เกี่ยวกับจิตวิทยา เน้นความรู้จิตวิทยาที่เอามาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน มีบทความแนะแนวเรียนจิตวิทยาสำหรับผู้สนใจเรียนด้านจิตวิทยา