psychola.net จิตวิทยาในชีวิตประจำวัน

  • Home
  • Guidance
  • Applied
  • Movement
  • Books
  • About
  • Home
  • Guidance
  • Applied
  • Movement
  • Books
  • About

Applied
​จิตวิทยาใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างไร

เกมจิตวิทยา : เธอแทนใคร

29/9/2015

Comments

 



เรื่อง : Canon in D, MUTH

​วันนี้พี่หมีรับเชิญคนเขียนมาใหม่ขอรับ

ขอชวนเธอมาเล่นเกมสัญลักษณ์
เกมเชิงจิตวิทยา ที่เคยคิดแล้วเอามาเล่นกัน
ไม่ใช่เกมจิตวิทยาหมู่…แน่นอน…
 
กติกาก็ง่ายมาก


อะหนึ่ง จิกเพื่อนมาล้อมวงกันซักไม่เกิน 10 คน ทำไมต้องไม่เกิน เพราะ ทุกคนจะได้เห็นหน้าและได้ยินเสียงที่พูด ทุกคนต้อง”ฟัง”กันและกัน
อะสอง ให้ทุกคนคิดหาสัญลักษณ์ที่แทนตัวเองได้ดีที่สุดหนึ่งอย่าง
เช่นพวก สิ่งของ สัตว์ พืช ทรัพยากรธรรมชาติทั้งหลาย ประมาณนี้
อะสาม เขียนใส่กระดาษ ส่งให้ Group Leader ไม่ใช่ cheer leader….
Group Leader ก็หยิบมาทีละแผ่น อ่านให้คนในกลุ่มฟัง
อะสี่ แล้วให้ทุกคนทายว่า อันนี้เป็นสัญลักษณ์ของใคร
 
พอพูดครบทั้งวง รวมถึงคนที่เขียนด้วย ก็เฉลยซะว่าแต่ละคนทำไมถึงแทนตัวเองเป็นอย่างนั้นอย่างนี้
 
แค่นี้เอง (เกมนี้ยกเครดิตให้คุณเดียร์เป็นคนเริ่มคิด)
 
เกมนี้ เล่นไปทำไม?
อะหนึ่ง สอนให้รู้จักคิดและมองเข้าไปที่ตัวเองอย่างง่ายๆ
อะสอง ฝึกให้มีทักษะการฟังโดยฟังผู้อื่นจริงๆ ไม่ใช่แค่ได้ยินเฉยๆ ซึ่งเป็นหนึ่งในทักษะที่คนที่จะเป็นนักจิตวิทยาการปรึกษา ควรจะมีที่ไม่ใช่แค่มีเฉยๆ แต่ต้องมีเยอะๆเลยล่ะว่างๆ ก็เอาไปเล่นดูสิ
จะได้รู้ว่าเพื่อนๆ มองเรา และเรามองเพื่อนๆ ยังไงบ้าง
อ้อ…คนที่เป็น Leader ควรมีทักษะการฟัง และก็สรุปสิ่งที่เพื่อนพูดมาให้เข้าใจได้พอสมควรนะจ้ะ

แต่ไม่แนะนำให้เล่นกะเพื่อนสนิทนะ เดี๋ยวไม่หนุก เพราะรู้ไต๋กันอยู่


เสริมก่อนจากกันเกี่ยวกับจิตวิทยาปรึกษา
จิตปรึก หรือจิตปึก หรือเรียกอย่างสั้นๆว่า จิตวิทยาการปรึกษา หรือเรียกว่า Counseling Psychology (อ่านว่า เค้าเซลลิ่ง นะจ้ะ)     
จิตปรึกต่างจากการแนะแนว (Guidance กายแด้นส์) เพราะ แนะแนวคือการแนะนำ แบบโช๊ะๆ ชี้นำไปเลย
แต่การให้บริการปรึกษา คือ ให้คำปรึกษาโดยคนที่ให้บริการจะทำหน้าที่เหมือนเพื่อนร่วมเดินทางที่ไม่ชี้นำ การให้คำปรึกษาเนี่ยมีหลากหลายแนวทางให้เลือกใช้ผสมผสานกัน อย่างเช่น แนวคิดของคุณฟรอยด์ (Freudian) และก็มีแนวคิดที่เชื่อมั่นในความสามารถมนุษย์ว่าคนเราเนี่ยคิดแก้ปัญหาเองได้ (Humanism)  นอกจากนี้ก็แนวคิดที่มองว่าคนที่มีปัญหาควรจะใช้เหตุผลและอารมณ์ที่มันใช่ที่มันถูกต้องต่อเหตุการณ์หนึ่งๆอย่างเหมาะสม เรียกว่า (Rational Emotive Behavior Therapy)ไปใช้บริการการปรึกษาเพื่ออะไร
อะหนึ่ง เพื่อให้เธอสบายใจ ลดความเครียด โล่ง ปลอดโปร่งทั้งหัวสมองและอารมณ์
อย่างเช่น ตอนที่เธอมีปัญหา เธอก็จะได้จัดการกับอารมณ์แย่ๆเหล่านั้นให้ออกไปได้อย่างเหมาะสมและถูกวิธี
อะสอง เพื่อให้เธอได้พัฒนาตนเองให้เป็นคนที่ดี จิตใจงอกงามเติบโตเหมือนต้นไม้ต้นหนึ่งยังไงยังงั้น


ลองไปใช้บริการการปรึกษาแบบนี้ดูสิ บางทีปัญหาของเธอก็อาจเกินความสามารถของเพื่อนที่เธอขอคำปรึกษาอยู่ก็ได้นะ.

Comments

    Archives

    February 2016
    December 2015
    November 2015
    October 2015
    September 2015

    Categories

    All
    แนะแนว

    RSS Feed

Powered by Create your own unique website with customizable templates.