psychola.net จิตวิทยาในชีวิตประจำวัน

  • Home
  • Guidance
  • Applied
  • Movement
  • Books
  • About
  • Home
  • Guidance
  • Applied
  • Movement
  • Books
  • About

Applied
​จิตวิทยาใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างไร

ทำไมเราจึงไม่ควรตีลูก ในมุมมองนักจิตวิทยา

1/10/2015

Comments

 
Picture
เขียนโดย Pim Nattanee Sukpreedee www.pimandchildren.com

วันนี้เราจะมาพูดกันในเรื่องของสาเหตุที่ทำให้การตีไม่ได้มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมลูก และเพราะเหตุใด การตีจึงเป็นเรื่องต้องห้าม

มาที่คำถามแรกกันก่อนนะคะว่า

ทำไมตีเด็กแล้วพฤติกรรมที่เราต้องการจะหยุดหรือห้าม ถึงยังไม่หายไป

นักจิตวิทยากลุ่มพฤติกรรมนิยม ได้ให้คำตอบไว้ว่า การทำโทษด้วยความเจ็บปวดนั้น จะได้ผลในระยะยาวก็ต่อเมื่อ การลงโทษนั้นเกิดขึ้นในทันทีทันใด หลังจากเกิดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ ยกตัวอย่างง่ายๆ เช่น เราจะไม่จับหม้อร้อนๆ อีกเลย เมื่อเราเคยเผลอไปโดนมันแล้วรู้ว่าร้อนมาก (ความร้อนทำให้เราเกิดความรู้สึกเจ็บปวดในทันทีหลังจากเราจับหม้อ) แต่กรณีการลงโทษเด็กนั้น มันเป็นไปได้น้อยมากที่เราจะทำการลงโทษได้ทันทีเมื่อเด็กทำอะไรสักอย่างที่เราไม่พึงพอใจ

ที่พูดแบบนี้ ครูพิมไม่ได้หมายความว่างั้นก็ลงโทษทันทีสินะคะ เพราะต่อให้เราตียังไงก็ไม่ได้ผลอยู่ดี เนื่องจากเราไม่ได้ตัวติดกับเด็กตลอดเวลาขนาดนั้น และที่สำคัญคือ มีวิธีการอีกมากมายที่จะช่วยปรับพฤติกรรมของเด็กๆ ได้ โดยที่เราไม่ต้องใช้การตี ซึ่งส่วนนี้ครูพิมได้ทยอยนำมาฝากกันอยู่เป็นประจำอยู่แล้วนะคะ

คำถามต่อมาคือ

ทำไมการตีเด็กจึงควรเป็นเรื่องต้องห้าม

Darcia ได้สรุปถึงผลเสียของการตีเด็กไว้อย่างน่าสนใจ ดังนี้ค่ะ

- การตีทำลายความไว้วางใจ เด็กที่ถูกตีจะถอยกลับมาสร้างพื้นที่เล็กๆ ให้กับตัวเองและลดความสัมพันธ์กับผู้ที่ตีลง เมื่อเด็กมีความไว้วางใจน้อยลง ก็มีความเป็นไปได้ที่เขาจะแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวออกมาต่อคนๆ นั้น โดยอาจจะเลือกที่จะแสดงความก้าวร้าวออกมาก่อนที่จะถูกกระทำด้วย

- การตีทำลายสุขภาพจิต (ไม่น่าจะมีเด็กที่ถูกตีคนไหนรู้สึกดีหรือมีความสุขทางใจเพิ่มขึ้นหรอกจริงไหมคะ)

- การตีเป็นการเพิ่มอัตราการกระทำผิดกฎหมายและการต่ออาชญากรรม (เช่นอาจจะทำให้เกิดเหตุทีรุนแรงต่อมาจากการตีนั้นๆ )

- การตีส่วนใหญ่เป็นลักษณะที่ดูเหมือนเป็นการทำร้ายร่างกายเด็กมากกว่าการอบรมสั่งสอน

เพราะครูพิมเชื่อว่า พ่อ แม่ ครูและผู้ปกครองทุกๆ คน ไม่มีใครอยากที่จะทำร้ายเด็กหรือลูกๆ ของตัวเอง เพียงแต่ยังไม่ทราบว่าจะต้องอบรมสั่งสอนเขาด้วยวิธีใดก็เท่านั้น

แต่ในวันนี้ครูพิมคิดว่าผลการวิจัยและเหตุผลทั้งหมดทั้งมวลนี้ น่าจะเพียงพอแล้วที่จะทำให้เราหยุดคิดทุกครั้งก่อนที่จะทำการลงโทษใดๆ ในครั้งต่อไป

สำหรับวิธีการต่างๆ ที่จะช่วยให้เราปรับพฤติกรรมของลูกๆ ได้อย่างง่ายดายและเป็นไปในทางบวก ครูพิมจะพยายามนำมาเผยแพร่ให้ทราบกันในโอกาสต่อๆ ไป ขอให้ติดตามกันได้ค่ะ

ด้วยรัก
ครูพิม
Comments

    Archives

    February 2016
    December 2015
    November 2015
    October 2015
    September 2015

    Categories

    All
    แนะแนว

    RSS Feed

Powered by Create your own unique website with customizable templates.