บทความที่แล้วที่เรามาทำความรู้จักกับจิตวิทยาปัญญา ว่า จิตวิทยาปัญญา คืออะไร ใช้ทำอะไรได้บ้าง และได้เกริ่นถึงการนำความรู้เกี่ยวกับจิตวิทยาปัญญามาใช้ในการรักษาผู้ป่วยทางจิต
หลายๆ คนอาจจะเคยได้ยิน หรือ รู้จัก ความคิดและพฤติกรรมบำบัด หรือที่รู้จักกันดีคือ Cognitive Behavioural Therapy (CBT) ไม่มากก็น้อยนะคะ คอลัมน์นี้จะเจาะลึกไปถึงการทำงานของ CBT กันนะคะ จากตัวอย่างคราวที่แล้ว ถ้ามีความมั่นใจในตนเองต่ำ อาจจะเป็นผลจาก ความคิดที่ว่า เราไม่เก่ง ไม่สวย เราทำไม่ได้หรอก ความคิดลบๆเหล่านี้จะทำให้เรามีพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป เราจะเริ่มหลีกเลี่ยงเหตุการณ์นั้นๆ ที่ทำให้เรารู้สึกไม่ดี เช่น เลือกที่จะทิ้งโอกาสในการทำงานหรือการเรียน เพียงเพราะแค่คิดว่าเราทำไม่ได้ เราไม่มั่นใจในตัวเอง แล้วแบบนี้ CBT จะช่วยเราได้อย่างไร? อย่างแรก CBT จะทำให้ช่วยคุณค้นหา และ ตระหนักถึงปัญหาของคุณ และ แหล่งที่มาของปัญหา ขั้นตอนนี้อาจจะยากสักหน่อยนะคะ แต่มันจะทำให้คุณรู้ว่าปัญหาเกิดจากอะไร และ ถ้าคุณยังคิดแบบเดิมอยู่ พฤติกรรมของคุณจะเป็นอย่างไร จากนั้น CBT ก็จะโฟกัสที่พฤติกรรมปัจจุบันที่เกิดจากปัญหานั้นๆ ค่อยๆ ปรับเปลี่ยนวิธีการคิด เรียนรู้และฝึก ให้มีความคิดที่ดีและอยู่บนความเป็นจริงมากขึ้น เช่น เราไม่มั่นใจในตัวเอง เราไม่เก่ง กลัวว่าจะพูดผิด กลัวว่าใครจะมองเราไม่ดี ไม่กล้าออกไปพรีเซ้นท์ในห้องประชุม หรือ ห้องเรียน เมื่อเรารู้ถึงปัญหาของเรา และ ตระหนักถึงผลลัพธ์ของมัน ว่ามันอาจจะทำให้เราไม่ก้าวหน้าในหน้าที่การงาน ได้คะแนนในวิชานั้นๆลดลง แล้วจะทำอย่างไรให้เรามีความมั่นใจมากขึ้นได้? เราอาจจะค่อยๆปรับทัศนคติเกี่ยวกับการพรีเซ้นท์งาน เช่น เราต้องเชื่อว่าเราทำได้ ไม่ต้องกลัวว่าจะผิด ถ้าผิดก็ถือว่าเป็นบทเรียนแล้วกัน การพรีเซ้นท์งานไม่ได้น่ากลัวอะไร และ เราอาจจะค่อยๆฝึก พรีเซ้นท์ให้เพื่อนกลุ่มเล็กๆฟังดูก่อน เมื่อเห็นว่าเราสามารถทำได้แล้ว เราไม่กลัวที่จะเผชิญหน้ากับมันแล้ว แล้วค่อยๆ ขยับไปเป้าหมายที่ใหญ่ขึ้น หลังจากนั้นเราก็จะค่อยๆ มีความมั่นใจในตัวเองเพิ่มขึ้นเอง CBT สามารถใช้ได้ในผู้ป่วย โรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล โรคย้ำคิดย้ำทำ ละอื่นๆอีกมากมาย บทความหน้าจะเป็นอะไรอย่าลืมติดตามกันนะคะ. |
Archives
February 2016
Categories |