เราจะสร้างความมั่นใจให้ตนเองหรือส่งเสริมให้เด็กๆ มั่นใจได้อย่างไรบ้าง ติดตามได้ในคลิปนี้
https://youtu.be/PBKDaHXReUo วิทยากรคือ ครูเปิ้ล Kruple Sudaratn Srisurakarnt ครูสอนการแสดงที่เรียนจบด้านจิตเวชจากแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิิทยาลัย www.facebook.com/minddirector เขียนโดย ครูเปิ้ล สุดารัตน์ ศรีสุรกานต์
www.facebook.com/minddirector ไปทำงาน..เจอปัญหาเยอะมากกกก จะทำใจยังไงดีคะ?!? ^__^ ลองคิดอย่างนี้ดูนะคะ ลองมองปัญหาให้เป็นปุ๋ยชั้นดีที่จะมาเติมต้นไม้แห่งชีวิตเราให้เติบโตแข็งแรงกันค่ะ ออกไปเจอปัญหาเยอะๆ คิดซะว่า..ได้ออกไปฝึกสมอง..ได้พัฒนาskillการแก้ปัญหา ออกไปเติมประสบการณ์ความลำบากในการทำงานบ่อยๆ คิดซะว่า..ได้ออกไปฝึกร่างกาย..ให้อึดอดทน กระตือรือร้นแข็งแรงขึ้น ออกไปเจอคนใจร้าย คิดซะว่า..ได้ออกไปฝึกใจ...ให้เมตตาคนน่าสงสารเหล่านั้น "..เพราะคนที่ชอบทำให้คนอื่นทุกข์..แท้จริงเค้าคือคนที่กำลังมีความทุกข์ที่สุดค่ะ.." น่าสงสารเค้านะคะ ปัญหาและ'อุปสรรค'ที่เรากำลังต้องเจอนั้น คือ'อุปกรณ์'ชั้นดีที่ช่วยยกระดับความเเข็งแกร่งในชีวิตและจิตใจในทุกๆวัน มองปัญหา เป็น'บันได' ให้เราเหยียบ มองปัญหา เป็นบันได ยกหัวใจเราให้สูงขึ้นไปอีกขั้น อย่ามองปัญหา เป็น 'กำแพง' ขวางกั้น เพราะกำแพงปัญหาที่ก่อสร้างโดยคนอื่นนั้น ควรจะปล่อย ให้มันเป็นอุปสรรคขวางกั้นเขา...ไม่ใช่เรา "ถนนหนทางที่ราบเรียบ..ไม่เคยสร้างนักแข่งรถที่ชำนาญ" ออกไปขับรถกระโดดข้ามอุปสรรคเยอะๆกันค่ะ ลุย! เขียนโดย ครูเปิ้ล สุดารัตน์ ศรีสุรกานต์
www.facebook.com/minddirector ทำไมหน้าเหี่ยว ? ทำไมผมร่วง ? ทำไมปวดหัว ? ทำไมรู้สึกเบื่อโลก ? ถ้าคุณไม่ได้ป่วยเป็นอะไร ลองเช็คใจคุณดูนะคะว่าช่วงนี้เรา กำลังโกรธ เกลียดใคร อยู่รึเปล่า ? ทราบมั้ยคะว่า ถ้าเราโกรธหรือเกลียดใคร มีผลให้เราหน้าเหี่ยวทันที ถ้าเป็นไปนานข้ามปีเราจะ "มีความสุขยากขึ้น" เพราะความคิดที่มีต่อคนๆนึงที่เราเกลียด จะกัดกินพื้นที่ในสมองเรา เผลอๆ..จะกินพื้นที่สมองเรา มากกว่าคนที่เรารักซะอีกด้วย! เวลาเราโกรธ-เราเกลียด สารความเครียดจะหลั่งในสมองเราทันที โปรดฟังอีกครั้ง!!.. หลั่งในสมองเรานะคะ.. ไม่ใช่สมองคนที่เราเกลียด.. หรือทางพุทธกล่าวว่า มโนกรรม ทำงานทันที ที่เราคิดลบนั่นเอง คิดลบปุ๊ป!สารเครียดหลั่งปั๊บ! ส่งผลอย่างไรน่ะเหรอ? เราจะเเก่ง่าย..หน้าหมอง..สมองเสื่อม..หัวล้าน..นอนไม่หลับ..อ่อนเพลีย..ปากเหม็น..เซ็กส์เสื่อม ฯลฯ เรียกได้ว่ามีผลเสียเกิดขึ้นมากมายค่ะ อ้อ!..ผลเสียนั้น "เกิดกับเรา"นะคะ ไม่ใช่กับคนที่เราเกลียด หลายคนตกม้าตายในเรื่องการคิดเเค้น หลายคนเข้าใจผิดอีกว่า ยกโทษ = เป็นการทำให้คนที่เราเกลียดมีความสุข ใครบอกว่า ยกโทษเค้าไปเถอะ ก็มักจะโดนสวนกลับมาว่า "เกลียดจะตาย!!จะไปยกโทษให้มันทำไม!?! " แท้ที่จริงเเล้วการยกโทษให้คนที่เราเกลียด-โกรธ เราทำเพื่อตัวเองเต็มๆ เรียกได้ว่าถ้าเราทิ้งโทษ เขวี้ยงโทษ เตะโด่งโทษหรืออะไรกะโทษก็ได้ แต่หลุดจากโทษนี้ไวเท่าไหร่ สารความเครียดในสมองก็จะหยุดทำร้ายเรา เร็วเท่านั้น!! ดียิ่งไปกว่านั้น ในทางกลับกัน ถ้าเรารู้จักให้อภัย ก็มีผลศึกษาทางวิทยาศาสตร์ชัดเจนเลยว่า สมองของคนที่กำลัง "ให้อภัย" กำลังให้ความรัก แผ่ความเมตตาให้ผู้อื่นนั้น จะหลั่งสารความสุข สดชื่นทันทีที่เราส่งความเมตตานี้ไป เเละจะส่งผลทำให้ผิวพรรณสดใส สมองดี มีความสุข หล่อ สวย ใส ผ่อง อารมณ์ดีมีออร่า อายุยืน เเข็งเเรง กินง่าย นอนสบาย สุดยอดไปเลย..ย.. ดังนั้น.. ถ้าเรารักเเละหวังดีกับตัวเอง ให้โอกาส สารความสุขที่เรามีในตัวเราอยู่เเล้ว ทำงานได้เต็มที่ เลิกหมั่นสร้างสารความเศร้า เลิกเอาสารความทุกข์มาทำร้ายตัวเองซะทีนะคะ ยกโทษทิ้งไป=รักเเละหวังดีกับตัวเอง สัญญาณอันตรายที่คนมีคู่ต้องระวัง
by พงศ์มนัส บุศยประทีป ถ้าบอกว่าการหาคนรักนั้นเป็นเรื่องที่ว่ายากแล้ว การรักษาความรักให้อยู่คงทนและมีความสุข ยิ่งเป็นเรื่องยากกว่ามาก เราจะพบว่าคู่รักไม่ว่าจะอยู่ในขั้นเป็นแฟน คบหาดูใจ หรือแต่งงานแล้ว ก็มีวันหนึ่งที่ตัดสินใจเลิกรากันได้ บางครั้งคนที่ถูกบอกเลิก ไม่รู้ด้วยซ้ำว่าเพราะอะไรคู่รักของตัวเองถึงถูกบอกเลิก การใช้ชีวิตร่วมกันเป็นเวลานั้น บางครั้งเราทำร้ายจิตใจอีกฝ่าย ทำให้อีกฝ่ายมองว่าเราด้อยค่า ทำให้อีกฝ่ายมองว่าเขาไม่ใส่ใจเราเท่าที่ควร หรือทำให้อีกฝ่ายเสียหน้า เจ็บแค้นนั้น มันเกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัว ปัญหาคือในหลายๆ คู่ เราทำสิ่งเหล่านั้นไปจนเคยชิน เราไม่รู้เลยว่าสิ่งที่ทำเหล่านั้นบั่นทอนความสัมพันธ์มากแค่ไหน ตัวอย่างหนึ่งที่พบเจอได้บ่อยๆ คือ การไม่ใส่ใจในสิ่งที่คนรักให้คุณค่า เช่น งานอดิเรกของเขา คนรักของคุณอาจจะชอบเล่นเครื่องบินบังคับ ไม่เพียงแต่คุณไม่สนใจ ไม่เข้าไปมีส่วนร่วม ที่ร้ายแรงกว่านั้นคุณอาจจะมองว่ามันไร้สาระ ไม่มีประโยชน์ หรือต่อให้เขาได้รางวัลชนะเลิศแข่งขันเครื่องบินบังคับมา คุณก็ไม่รู้สึกยินดียินร้าย ไม่ดีใจไปกับเขา ไม่ชื่นชมเขา เรื่องแบบนี้หากเกิดขึ้นบ่อยเข้า ความสัมพันธ์น่าจะไปรอดได้ยาก แต่เนื่องจากสัญญาณมันเยอะเหลือเกิน ครับ Alice Boyes ได้รวบรวมไว้ถึง 51 สัญญาณ ผมจึงนำมาขยายเพิ่มเติม ปรับให้เข้ากับคนไทย และเพิ่มความรู้ และงานวิจัยเกี่ยวกับคู่รักอื่นๆ ไว้ใน e-book ราคาเบาๆ สามารถสั่งซื้อได้ที่นี่เลยครับ คนโสดก็อ่านเตรียมไว้ก่อนได้นะครับ อ่านใน Ookbee ทางนี้ คลิกที่นี่ (หนังสือเล่มนี้เข้าร่วม Ookbee Buffet ใครสมัคร Buffet แล้วโหลดอ่านได้เลยครับ) อ่านใน Meb ทาง คลิกที่นี่ วิธีเพิ่มยอดขายโดยทำให้ลูกค้ากลัวจะเสียอะไรบางอย่างไป
By Rath Saadying ลองนึกถึงตอนที่คุณจะตัดสินใจซื้อของสักชิ้น อะไรคือสิ่งที่ทำให้คุณยอมจ่ายเงินออกจากกระเป๋า? … คำตอบที่ได้ก็คงจะหลากหลาย ทั้งองค์ประกอบของผลิตภัณฑ์ ประโยชน์ที่ได้รับ หรือแม้กระทั่งราคา รวมๆ เรียกว่า “ความพึงพอใจ” แต่หลายครั้ง คนเราไม่ได้ตัดสินใจซื้อเพราะเพียงแค่ความพึงพอใจเพียงอย่างเดียว แต่เราซื้อเพียงเพราะแค่รู้สึก “เสียดาย” “ความพึงพอใจ” ที่ลูกค้าจะตัดสินใจซื้อสินค้าสักชิ้น เขาจะพิจารณาจากคุณค่า และสิ่งที่ต้องจ่ายเพื่อแลกเปลี่ยน หากคุณค่าที่มีมากเพียงพอ และสิ่งแลกเปลี่ยนนั้นไม่ได้เกินกำลัง การตัดสินใจซื้อก็จะเกิดขึ้น แนวทางหนึ่งที่เห็นบ่อยครั้งในการสร้างความพึงพอใจ คือ แสดงให้ลูกค้าเห็นคุณค่าของผลิตภัณฑ์ด้วยการบอกคุณค่าของผลิตภัณฑ์ เช่น องค์ประกอบที่เหนือกว่า ประโยชน์ที่ได้รับ ความรู้สึกที่คนต้องการจากผลิตภัณฑ์ ประสบการณ์ที่ได้รับ เป็นต้น อีกแนวทางที่นิยมคือ ทำกับสิ่งที่ต้องจ่ายน้อยลงหรือรู้สึกว่าน้อยลง เช่น ลดราคาที่ต้องจ่าย เพิ่มระยะเวลาการชำระ เพิ่มโอกาสในการจ่าย เป็นต้น ทางลัดที่จะช่วยให้คนยินยอมตัดสินใจซื้อสินค้าได้ง่ายขึ้น คือ การสร้างรู้สึกเสียดาย ลองดู 2 ประโยคนี้ ว่าประโยคไหน จูงใจคุณได้มากกว่า "ลดราคา 50% สำหรับสมาชิกพิเศษอย่างคุณวันนี้" "อย่าพลาดโอกาส ใช้สิทธิ์ลด 50% ของคุณวันนี้" จะเห็นว่าประโยคที่ 2 มีการออกแบบให้เกิดความรู้สึกเสียดายมากกว่า จากประสบการณ์ของผม เมื่อเราสร้างให้เกิดความเสียดาย ลูกค้าจะตัดสินใจซื้อได้มากกว่า ความเสียดายจึงเป็นแนวทางในการจูงใจให้เกิดยอดขายที่ใช้ได้ผลในหลายโอกาส ในทางเศรษฐศาสตร์พฤติกรรมมีการวิจัยเรื่องความกลัวการสูญเสีย ทำให้เราเข้าใจบทบาทของความเสียดายในกระบวนการตัดสินใจได้มากขึ้น ผลวิจัยนี้ทำให้ผู้วิจัยได้รับรางวัลโนเบล สาขาเศรษฐศาสตร์ปี 2002 เป็นส่วนหนึ่งจากทฤษฎีความคาดหวัง (Prospect Theory) โดย Daniel Kahneman และ Amos tversky ผลการทดลองโดยสรุป คือ “ความพอใจที่ลดลงจากการสูญเสียมีค่ามากกว่าความพอใจที่เพิ่มขึ้นจากการได้รับของมูลค่าเท่ากัน ประมาณ 2 ถึง 2.5 เท่า” ส่วนหนึ่งของทฤษฎีความคาดหวังนี้ แสดงให้เห็นว่า บุคคลจะมีพฤติกรรมหลีกเลี่ยงความเสี่ยงเฉพาะเมื่อเผชิญหน้ากับสถานการณ์ที่จะได้รับ (Gains) และจะมีพฤติกรรมรักความเสี่ยง (Risk loving) หรือยอมที่จะเสี่ยงเพื่อหลีกเลี่ยงความสูญเสีย (Losses aversion) ดังนั้นการสร้างความรู้สึกสูญเสียจึงต้องเริ่มต้นจากการให้บางสิ่งไปก่อน ทำให้ผู้บริโภครู้สึกว่าเป็นเจ้าของสิ่งนั้น แล้วกำลังจะสูญเสียสิ่งนั้นไปโดยเงื่อนไขบางอย่าง นักการตลาดสามารถประยุกต์ใช้แนวคิดนี้ได้หลากหลาย เช่น การมอบคูปองส่วนลดหรือของแถมให้กับลูกค้าหากนำคูปองมาซื้อผลิตภัณฑ์ เพื่อให้เขาเสียดายที่จะต้องเสียโอกาสในการได้ส่วนลด หรือของฟรีไป จนต้องมาซื้อ การให้โอกาสในการลดราคาแค่ครั้งเดียว ถ้ามาหลังจากนี้จะไม่ได้ส่วนลดแล้ว (One Time Offer) เช่น ในการซื้อครั้งแรก ถ้าซื้อสินค้าเสริมไปด้วยจะได้ราคาพิเศษ การสื่อสารที่กระตุ้นให้เกิดความเสียดาย เช่น ในเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซบางเว็บ จะให้คนได้ลองเพิ่มชื่อของตัวเองสลักลงไปในภาพของสินค้าก่อน จะได้เห็นภาพจริงๆ เหมือนเป็นเจ้าของของชิ้นนั้นแล้ว เพื่อเพิ่มโอกาสในการตัดสินใจซื้อ จะเห็นว่าความเสียดาย สามารถช่วยการตัดสินใจซื้อได้ในหลายขั้นตอนตั้งแต่ Awareness > Consideration > Trail > Purchase แต่ที่สำคัญผลิตภัณฑ์หรือบริการของคุณก็ต้องมีคุณค่าเพียงพอที่จะให้คนตัดสินใจก่อนเป็นอันดับแรก ความเสียดายจะเป็นตัวเสริมที่ดี ที่ช่วยให้การตัดสินใจเกิดขึ้นได้ง่ายยิ่งขึ้น ลองพิจารณาแนวทางการทำตลาดเดิมของคุณดูว่า สามารถก่อให้เกิดความรู้สึกเสียดายได้ในกระบวนการไหนบ้าง ก็จะช่วยให้อัตราการ convert มาเป็นยอดขายเพิ่มขึ้นได้ไม่ยาก วันนี้ผลิตภัณฑ์ของคุณดีจนน่า “เสียดาย” แล้วหรือยัง หากสนใจข้อมูลเกี่ยวกับทฤษฎีความคาดหวังเพิ่มเติม สามารถศึกษาได้จากลิงค์นี้ https://www.princeton.edu/~kahneman/docs/Publications/prospect_theory.pdf http://pokpong.org/writing/nobel-smith-kahneman/ Photo credit: Icon made by Freepik fromwww.flaticon.com |
Archives
February 2016
Categories |